.
🔹การจัดการทรัพยากรการศึกษาต้อง “เป็นธรรม” ด้วยสูตรการจัดสรรงบประมาณที่คำนวณจาก ‘ความแตกต่างของขนาดโรงเรียน’ เพื่อให้ ‘ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ’ จากโรงเรียนขนาดใหญ่สามารถถ่ายเทไปยังโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กทุกคนในทุกพื้นที่ได้รับประโยชน์จากงบประมาณการศึกษาอย่างทั่วถึง
.
🔹การจัดการทรัพยากรการศึกษาต้อง “ยืดหยุ่น” เพื่อรองรับความหลากหลายของผู้เรียนและบริบทพื้นที่ โดยคำนึงถึงแนวทาง ‘Demand-side financing’ หรือการสนับสนุนงบประมาณที่ส่งตรงถึงตัวผู้เรียนรายบุคคล ผ่านการจัดการศึกษาที่ออกแบบเฉพาะตามความต้องการ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้ ‘ตามวิถีทางของตนเอง’
.
🔹การจัดการทรัพยากรการศึกษาต้อง “มุ่งผลสัมฤทธิ์” โดยการลงทุนด้านการศึกษาควรสร้าง ‘ผลกระทบที่ชัดเจน (Impact)’ ต่อการยกระดับระบบการศึกษาและสังคมในระยะยาว ต้องสามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นระบบ เพื่อดึงดูดภาคธุรกิจเอกชนให้เข้ามาร่วมสมทบทรัพยากร ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตการจัดการงบประมาณของภาครัฐ ในสถานการณ์ที่ฐานภาษียังเติบโตไม่ทันต่อความต้องการของระบบการศึกษาในภาพรวม
.
.
ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาระบบการศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมกับภารกิจสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกในหลายมิติ 🌟 ‘ดร.ไกรยส ภัทราวาท’ ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงแนวทางการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักคิดสำคัญ 3 มิติ ได้แก่ 📌 “เป็นธรรม – ยืดหยุ่น – มุ่งผลสัมฤทธิ์”
.
ข้อเสนอนี้ถูกนำเสนอในเวทีเสวนาเรื่อง 📌“การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนและการลงทุนด้านการศึกษาที่สามารถยกระดับคุณภาพได้อย่างแท้จริง โดยข้อคิดเห็นจากเวทีนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำนโยบายสนับสนุนทรัพยากรการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ต่อไป
.
.
“ต้องย้อนมาดูปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึง หรือ ความขาดแคลนของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะเรื่อง ‘สูตรจัดสรรเงินอุดหนุน’ ที่ ณ วันนี้ยังใช้วิธีเหมาหัวเท่ากัน ซึ่งทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็กถ่างกว้างขึ้นทุกที” - ดร.ไกรยส ชี้ให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระดับโรงเรียน 🗯️💡
.
📒✨ อ่านต่อ: 3 แนวทางเชิงระบบ “เป็นธรรม–ยืดหยุ่น–มุ่งผลสัมฤทธิ์” ยกระดับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา https://www.eef.or.th/article-120625/
.
.
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #กสศ #สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #การจัดการทรัพยากรทางการศึกษา #งบประมาณ #การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น