❗ ผลกระทบที่อาจเกิดกับลูก
1. แบบอย่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เด็กเรียนรู้จากการสังเกต หากพ่อแม่ไม่มีระเบียบ วางแผนไม่เป็น ขาดวินัย เด็กก็อาจซึมซับพฤติกรรมแบบนั้นโดยไม่รู้ตัว
2. ขาดระบบสนับสนุนในบ้าน
เด็กที่ EF ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ต้องอาศัยโครงสร้างและการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เช่น ตารางเวลา กฎเกณฑ์ หรือการช่วยเตือน หากพ่อแม่ก็จัดการสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เด็กก็จะขาดกรอบในการฝึก EF
3. ความเครียดในครอบครัว
การขาดการวางแผน อารมณ์รุนแรง หรือการจัดการชีวิตประจำวันไม่ได้ อาจทำให้บ้านวุ่นวาย มีปากเสียง ส่งผลให้เด็กเครียด วอกแวก และขาดความมั่นคงทางใจ
4. ผลเสียต่อ EF ของเด็ก
EF ไม่ใช่แค่พันธุกรรม แต่พัฒนาได้จากสิ่งแวดล้อม หากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไร้แบบแผน ไร้ระบบ เด็กก็มีแนวโน้มจะ EF อ่อนแอตามไปด้วย
5. ผลกระทบต่อการเรียนและพฤติกรรม
เด็กที่ EF อ่อนแอ อาจขาดสมาธิ ลืมของบ่อย ทำงานไม่เสร็จ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ปัญหาทั้งการเรียนและพฤติกรรมในโรงเรียนก็แน่อยู่แล้ว และถ้าพ่อแม่เป็นด้วย ควบคุมอรมณ์ตัวเองไม่ได้ มองแต่ลูกแต่ลืมมองตัวเอง ลูกจะยิ่งแย่แค่ไหน 😥
😊 ดังนั้น การที่พ่อแม่ฝึก EF ไปพร้อมกับลูก ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างทักษะสำคัญให้กับลูกเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนา EF ของพ่อแม่เองด้วย และช่วยให้ปัญาเหล่านี้เกิดขึ้นน้อยลง .....( ตั้งสติ และฝึกไปพร้อมกับลูก )
และที่สำคัญคือเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และการเติบโตไปด้วยกันในครอบครัว นี่คือแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ครับ
โดยหลักการสำคัญคือ
1️⃣ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
และ2️⃣ทำไปด้วยกัน
🗣 การฝึก EF ไม่ใช่แค่การบอกการสอน แต่คือการใช้ชีวิตให้เป็นตัวอย่างและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
1. การควบคุมยับยั้ง (Inhibitory Control)
#หยุดคิดก่อนที่จะตัดสินใจทำ
👥️ พ่อแม่ฝึกตัวเอง
▪️ ฝึกการตอบสนองอย่างมีสติ #เมื่อลูกทำสิ่งที่ขัดใจเรา แทนที่จะตอบโต้ทันที ลองหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-3 หรือ 1-5 ในใจก่อน แล้วค่อยเลือกคำพูดหรือการกระทำที่เหมาะสม สิ่งนี้ช่วยให้เราควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นได้ดีขึ้น .... ฝึกได้ดีต่อลูกมากๆ 💓
▪️ #จัดการสิ่งรบกวน เมื่อเรากำลังทำงานหรือทำกิจกรรมกับลูก ลองปิดพวกการแจ้งเตือนจากโทรศัพท์มือถือ หรือจำกัดเวลาดูโซเชียลมีเดีย ลดการใช้มือถือของตัวเอง เพื่อแสดงให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของการมีสมาธิ จดจ่อ ในการทำงานหรือกิจกรรมกับลูก
▪️ #ฝึกตัวเองให้อดทนรอคอย เช่น รอคิว รอให้ลูกทำอะไรบางอย่างให้เสร็จ (แม้จะช้า) ไม่บ่น ไม่ด่า ไม่หัวร้อน ไม่หงุดหงิด เพื่อเป็นตัวอย่างของการควบคุมแรงกระตุ้น
👨👩👦ฝึกไปพร้อมกับลูก
▪️ เล่นเกมที่ต้องรอคอย เช่น บอร์ดเกม หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักรอคอยและยับยั้งการกระทำ
▪️กำหนดกฎกติกาที่ชัดเจน เช่น "ก่อนจะขออะไร ให้มองตาแม่ก่อน" หรือ "ห้ามขัดจังหวะเวลาที่คนอื่นกำลังพูด" และพ่อแม่เองก็ต้องปฏิบัติตามกฎนั้นด้วย
▪️ ฝึกการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างใจเย็น เมื่อเกิดความขัดแย้ง ให้พ่อแม่เป็นผู้นำลูก ในการหยุดพัก หายใจ และคิดหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะใช้อารมณ์
2. ความจำใช้งาน (Working Memory)
#ฝึกจำและนำไปใช้
👥️พ่อแม่ฝึกตัวเอง
▪️ฝึกจดจำและจัดระเบียบข้อมูล ฝึกการจดจำรายการสิ่งของที่ต้องซื้อ หรือขั้นตอนการทำอาหารโดยไม่ต้องดูสูตรตลอดเวลา หรือฝึกจำเส้นทางใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่ง GPS ตลอดเวลา
▪️ฝึกทบทวนสิ่งที่เรียนรู้มา เช่น เมื่ออ่านหนังสือ หรือเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ลองทบทวนในใจหรือเล่าให้คนอื่นฟัง เพื่อช่วยให้ข้อมูลคงอยู่ในความจำใช้งานได้นานขึ้น
▪️ ฝึกทำงานหลายขั้นตอน โดยฝึกทำกิจกรรมที่ต้องใช้หลายขั้นตอน เช่น การทำอาหารที่ต้องเตรียมหลายอย่างพร้อมกัน
👨👩👦ฝึกไปพร้อมกับลูก
▪️ เล่นเกมที่ต้องใช้ความจำ เช่น Memory Game, Bingo หรือเกมที่ต้องจำลำดับตัวเลข/สี
▪️ให้คำสั่งลูกแบบหลายขั้นตอน แทนที่จะบอกให้ลูก "เก็บของ" ลองบอกว่า "เก็บของเล่นใส่กล่องสีฟ้า แล้วเอาหนังสือนิทานไปวางบนชั้น" เพื่อให้ลูกต้องจำลำดับคำสั่ง (แต่เราเองก็ต้องจำให้ได้ด้วยนะ ว่าบอกอะไรลูกไป 😅)
▪️ เล่านิทานหรือเรื่องราวแล้วให้ลูกเล่าซ้ำ หรือให้ลูกช่วยจำรายละเอียดของเรื่องราว เช่น ตัวละคร สถานที่ หรือเหตุการณ์สำคัญ
▪️ทำกิจกรรมที่ต้องวางแผนร่วมกัน เช่น การทำอาหารง่ายๆ ที่ต้องจำส่วนผสมและขั้นตอน
3. ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility)
#ปรับเปลี่ยนได้ไม่ยึดติด
👥️ พ่อแม่ฝึกตัวเอง
▪️ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เมื่อลูกหรือคนรอบข้างมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับเรา ลองพิจารณาจากมุมมองของเขา แทนที่จะยึดติดกับความคิดของตัวเองเท่านั้น .... ต้องฝึก
▪️เมื่อเจออุปสรรค ลองคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม แทนที่จะใช้วิธีเดิมๆ ที่อาจไม่เวิร์ค
▪️ ฝึกตัวเองให้ยอมรับ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด เช่น แผนที่วางไว้ต้องเปลี่ยน หรือเจอสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามที่คิด
👨👩👦ฝึกไปพร้อมกับลูก
▪️เล่นเกมที่ต้องเปลี่ยนกฎ เช่น เกมที่เริ่มด้วยกฎหนึ่ง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนกฎระหว่างเล่น เพื่อให้ลูกต้องปรับตัวและคิดวิธีใหม่ๆ
▪️ ชวนลูกคิดวิธีแก้ปัญหาหลายๆ แบบ โดยเมื่อลูกเจออุปสรรค (เช่น ต่อบล็อกไม่ได้) แทนที่จะบอกวิธีแก้ ให้ถามว่า "มีวิธีอื่นอีกไหม?" หรือ "ถ้าทำแบบนี้ไม่ได้ ลองทำแบบไหนดู"
▪️ กระตุ้นการคิดนอกกรอบ เช่น "ถ้าเราไม่มีดินสอ เราจะวาดรูปด้วยอะไรได้อีกบ้าง?" หรือ "ถ้าวันนี้ไฟดับ เราจะเล่นอะไรในบ้านได้บ้าง?"
▪️เมื่อเราพ่อแม่ทำผิดพลาด ให้แสดงให้ลูกเห็นว่าเรายอมรับและเรียนรู้จากมันอย่างไร เพื่อเป็นตัวอย่างของความยืดหยุ่นทางความคิด
😊 พ่อโต้งอยากจะให้กำลังใจพ่อแม่ทุกคนและตัวเองด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการฝึก EF ไปพร้อมกับลูก นั้น เราจะต้อง
#เป็นแบบอย่างที่ดี ลูกเรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ พ่อแม่ที่มี EF ที่แข็งแกร่ง จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด
#สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ให้โอกาสลูกได้สำรวจ ลองผิดลองถูก และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
#ให้กำลังใจและชื่นชม เมื่อลูกพยายามใช้ EF แม้จะยังไม่สำเร็จ ให้ชื่นชมในความพยายามของเขา
#ความสม่ำเสมอ การฝึก EF ต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ ค่อยๆ ทำไปทีละเล็กละน้อยในชีวิตประจำวัน
และสุดท้าย การฝึก EF ไปพร้อมกับลูกเป็นการเดินทางที่สนุกและมีคุณค่าสำหรับทั้งครอบครัวครับ ได้ประโยชน์ทั้งเราและลูก สมองส่วนหน้าอันมีค่าของเราจะได้ทำงานได้เต็มที่ 😊
ที่มา
#ดีต่อลูก
#EF
#ทีมพ่อแม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น