วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568

ถ้าคุณใช้งาน Power BI คุณจะพบปัญหาอะไรบ้าง

ถ้าคุณใช้งาน Power BI คุณจะพบปัญหาอะไรบ้าง

เพื่อให้เห็นภาพ ขอแบ่งปัญหาเป็น 3 ขยัก ดังนี้

[1. ไม่รู้จะเริ่มยังไง]

ถ้าเปิดโปรแกรม Power BI Desktop ขึ้นมาครั้งแรก สิ่งที่โพล่งขึ้นมาคือ

“อะไร(วะ)เนี่ย!”

Power BI เป็นโปรแกรมที่มีรายละเอียดเยอะมาก การจะเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นแดชบอร์ดมีขั้นตอนไม่น้อย

สิ่งสำคัญของการสร้าง Power BI ไม่ใช่กราฟ แต่คือการสร้าง Data Model ที่ถูกต้อง

ถ้าเป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้ SQL มาก่อน จะเริ่มได้ถูกทาง
แต่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ (รวมถึงผม) อาจไม่เป็นเช่นนั้น

เราจึงเอาความรู้ที่เคยมี (ความรู้ Excel) มาใช้กับ Power BI โดยดึงข้อมูลเข้าไปเพียงตารางเดียว (100 คอลัมน์) ต้องการคำนวณอะไรก็สร้างคอลัมน์เพิ่ม แล้วลากคอลัมน์นั้นมาที่กราฟ ปรับการคำนวณให้เป็น Sum หรือ Count

ถ้าทำแบบที่เขียนเมื่อสักครู่ บอกเลย มาผิดทาง!

แนวทางที่ถูกต้องคือ ต้องสร้าง Data Model โดยมีอย่างน้อย 3 ตารางคือ

1. ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง (Fact Table)
2. รายละเอียดของข้อมูล (Dimension Table หรือบางคนเรียกว่า Master Data)
3. Date Table

การคำนวณทั้งหมดใน Power BI ห้ามลากตัวเลขมาที่กราฟ แต่ต้องคำนวณโดยการสร้าง Measure
(สร้างด้วยสูตร DAX)

เมื่อสร้าง measure แล้วก็นำไปสร้างกราฟ โดยอาจเพิ่มเทคนิคต่าง ๆ เช่น
– แสดงข้อมูลล่าสุด
– เปรียบเทียบข้อมูลปีนี้กับปีที่แล้ว
– ถ้าตัวเลขปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้วให้ปรับเป็นสีแดง

จากนั้นส่งข้อมูล (Publish) เข้าไปบนอินเทอร์เน็ต (Power BI Service) สร้างแดชบอร์ด ปรับการแสดงผลให้เหมาะกับโทรศัพท์มือถือ

และจบที่วิธีการอัพเดตข้อมูล

[2. ข้อมูลไม่เป็นระเบียบ]

เมื่อผ่านปัญหาขยักแรกมาแล้ว เราจะรู้ซึ้งว่าข้อมูลที่นำเข้าไปใน Power BI ต้องอยู่ในรูปแบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

แต่ข้อมูลในชีวิตจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น 😅

ข้อมูลมักอยู่ในรูปแบบของรีพอร์ต มีหัวตาราง 2 ชั้น มีการ Merge Cells มี Subtotal คั่นเป็นระยะ
แถมแยกเก็บเป็นหลายชีตหรือหลายไฟล์

ข้อมูลรูปแบบนี้ใช้ใน Power BI ไม่ได้ ต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องเสียก่อน

เครื่องมือที่ใช้แปลงรูปแบบข้อมูลใน Power BI คือ Power Query

แม้ Power Query จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่ถ้าเจอข้อมูลที่ ‘เน่า’ มาก การใช้เครื่องมือพื้นฐานใน Power Query คงไม่เพียงพอ

ทางแก้คือต้องเรียนรู้ภาษาของ Power Query (M Code) แล้วเขียนสูตรเอง

ถ้าเข้าใจ M Code จะเสกข้อมูลได้ตามใจ
แต่ปัญหาคือ M Code เป็นภาษาที่ไม่ง่าย มีข้อจุกจิกและรายละเอียดปลีกย่อยไม่น้อย

[3. เขียนสูตรแล้วคำนวณผิด]

ถ้าผ่านขยัก 2 มาแล้ว ปัญหาที่จะพบต่อมาคือ เขียนสูตรใน Power BI แล้วไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

ปัญหาที่มักพบบ่อยคือ ตัวเลขในบรรทัด Subtotal ไม่เท่ากับผลรวมของข้อมูลด้านบน

หรือเขียนสูตรที่มีเงื่อนไขที่ซับซ้อนไม่ได้ เช่น

– นับจำนวนลูกค้าที่มียอดซื้อมากกว่าหนึ่งแสนบาท
– นับจำนวนลูกค้าใหม่ของแต่ละเดือน
– เปรียบเทียบข้อมูลปีนี้กับปีที่แล้วแบบ like-for-like basis เช่น ถ้าปีนี้มีข้อมูลถึงวันที่ 15 ก็ต้องเปรียบเทียบกับข้อมูลของปีที่แล้วถึงวันที่ 15 (ไม่ใช่ปีที่แล้วทั้งเดือน)

ทางแก้คือต้องเข้าใจสูตร DAX ในเชิงลึก ต้องใช้คล่องอย่างน้อย 40 ฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็น
– CALCULATE
– FILTER
– ALL

สูตร DAX มีความคล้าย SQL ถ้ามีความรู้ SQL มาก่อนจะประยุกต์ได้เร็ว
แต่ถ้าไม่มี ต้องปรับตัวกันพักใหญ่
แต่ถ้าปรับได้ ก็เสกสูตรได้ตามต้องการ 🙂

[มีขยักอื่นอีกไหม?]

จริง ๆ แล้วยังมีขยัก 4
แต่ขยัก 4 ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นกับรายละเอียดของเนื้องาน เช่น

– ต้องการอัพเดตเฉพาะข้อมูลใหม่ (Incremental Refresh)
– กำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคน (RLS, Row-Level Security)
– ใช้ Power Automate ร่วมกับ Power BI เพื่อสร้างระบบแดชบอร์ดอัตโนมัติ

แม้จะดูเหนื่อยและมีหลายขยัก แต่ก็เป็นขยักที่ทุกคนต้องเจอ ผมจึงรวบรวมมาให้ในบทความนี้

ลองถามคนที่สร้างแดชบอร์ดมาแล้วสิ เจอกันมาแล้วทุกขยัก
บางคนไม่ได้เจอแค่ 3 นะ เจอ 4, 5, 6 ด้วย 😅

ที่มา
#PowerBI #วิศวกรรีพอร์ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เคยเป็นไหม?ตั้งใจจะให้ AI ช่วยคิดงาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา...อ่านแล้วเหมือนหุ่นยนต์เขียน เรียบๆ ทื่อๆ จนเอาไปใช้จริงไม่ได้

เคยเป็นไหม? ตั้งใจจะให้ AI ช่วยคิดงาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา... อ่านแล้วเหมือนหุ่นยนต์เขียน เรียบๆ ทื่อๆ จนเอาไปใช้จริงไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องกล...